วิจัยวัยรุ่นพบสูบบุหรี่ไฟฟ้า กระตุ้นพฤติกรรมสูบบุหรี่มวนเพิ่ม

มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่

ACTION ON SMOKING AND HEALTH FOUNDATION

Press Release

ศูนย์ข่าว มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่
วันที่ 30 มิถุนายน 2560
วันที่ข่าวตีพิมพ์ : สามารถเผยแพร่ได้ทันที
วิจัยวัยรุ่นพบสูบบุหรี่ไฟฟ้า กระตุ้นพฤติกรรมสูบบุหรี่มวนเพิ่ม


รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า มีรายงานจากการทบทวนงานวิจัยล่าสุด สรุปได้ว่า พบพฤติกรรมเยาวชนที่สูบบุหรี่ไฟฟ้า จะหันไปสูบบุหรี่ธรรมดาด้วยเกือบ 4 เท่าตัว มากกว่าเยาวชนที่ไม่ได้สูบบุหรี่ไฟฟ้า เหตุมีนิโคตินเป็นตัวเร่งเช่นกัน
รายงานดังกล่าวเผยแพร่ในวารสารแพทยสมาคมสหรัฐอเมริกา จามาพีเดียตริค (JAMA Pediatrics) ฉบับวันที่ 26 มิถุนายน 2560 โดย ดร.ซาเมียร์ โซนจิ จากคณะแพทยศาสตร์ดาร์ทเมาท์ ไกเซล รัฐนิวแฮมเชียร์ ด้วยโจทย์วิจัยที่ต้องการทราบความสัมพันธ์ของการสูบบุหรี่ไฟฟ้ากับการสูบบุหรี่ธรรมดาในเยาวชน โดยทำการวิเคราะห์รายงานวิจัย 9 ชิ้น ที่มีการติดตามระยะยาวในเยาวชนรวม 17,389 ราย อายุระหว่าง 14 ถึง 30 ปี โดยร้อยละ 56.0 ของตัวอย่างเป็นผู้หญิง พบว่าอัตราการเริ่มสูบบุหรี่ธรรมดา ในคนที่เคยสูบบุหรี่ไฟฟ้าเท่ากับ 30.4% เปรียบเทียบกับ 7.9% ในคนที่ไม่เคยสูบบุหรี่ไฟฟ้า นั่นคือเยาวชนที่เริ่มต้นจากการสูบบุหรี่ไฟฟ้า การติดตามต่อมาพบว่ากลายเป็นผู้เริ่มสูบบุหรี่ มากกว่าผู้ที่ไม่เคยสูบบุหรี่ไฟฟ้าแล้วกลายเป็นผู้สูบบุหรี่ถึงเกือบ 4 เท่าตัว คณะผู้วิจัยวิเคราะห์ถึงสาเหตุที่การสูบบุหรี่ไฟฟ้า นำไปสู่การสูบบุหรี่ธรรมดาว่าข้อแรก การสูบบุหรี่ไฟฟ้า มีขั้นตอนทางพฤติกรรมเหมือนกับการสูบบุหรี่ธรรมดา คือการเคลื่อนไหวโดยการใช้มือนำบุหรี่ไฟฟ้าเข้าปาก เกิดการสูบเข้าสู่ปอดและหายใจออก เป็นทักษะเดียวกัน ตัวอย่างคือ วัยรุ่นที่สูบบุหรี่ไฟฟ้าสามารถที่จะพ่นควันออกมาให้เป็น รูปวงกลมเหมือนกับวัยรุ่นที่สูบบุหรี่ การเรียนรู้เพื่อจะสูบบุหรี่ไฟฟ้า จึงเป็นการเรียนรู้เดียวกันกับการสูบบุหรี่ และทำให้การเปลี่ยนจากสูบบุหรี่ไฟฟ้าไปสูบบุหรี่ธรรมดาเป็นไปได้ง่าย ประการต่อมาคือเยาวชนที่สูบบุหรี่ไฟฟ้าอาจจะเกิดการติดนิโคตินได้ง่าย เนื่องจากนิโคตินในบุหรี่ไฟฟ้าอยู่ในรูปแบบเดียวกับที่มีในบุหรี่ธรรมดา ถูกดูดซึมผ่านปอดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เยาวชนที่สูบบุหรี่ไฟฟ้ามีความโน้มเอียงที่จะเปลี่ยนไปสูบบุหรี่ธรรมดาได้ เพื่อสนองความต้องการนิโคตินที่น่าพึงพอใจกว่า เนื่องจากการตรวจสอบน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าหลาย ๆ ตัวอย่าง พบมีความเข้มข้นของนิโคตินที่แตกต่างกัน คนที่สูบบุหรี่ไฟฟ้าที่มีนิโคติน ระดับต่ำ จึงมีแนวโน้มที่จะหันไปสูบบุหรี่ธรรมดาที่ทำให้ร่างกายได้รับนิโคตินมากขึ้น และการสูบบุหรี่ไฟฟ้ายังทำให้เยาวชนไปเข้ากลุ่มกับเพื่อนที่สูบบุหรี่ธรรมดาง่ายขึ้น จนเกิดการเปลี่ยนไปสูบบุหรี่ธรรมดาในที่สุด ผู้วิจัยสรุปว่าปัญหา การสูบบุหรี่ไฟฟ้าในด้านสาธารณสุขคือ อาจทำให้อัตราการสูบบุหรี่ของเยาวชนชะลอการลดลง หรือกลับมีอัตราสูงขึ้น ก็ได้ ซึ่งต้องมีการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด และให้มีมาตรการที่เข้มงวดในการควบคุมบุหรี่ไฟฟ้า

ต้องการสอบถามข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ โทร. 0-2278-1828

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

ติดต่อเรา

เครือข่ายกายภาพบำบัดเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่
สำนักงานชั่วคราว ภาควิชากายภาพบำบัด
คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ต.วังใหม่ อ.ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

โทร. 089-185-2000

ฝ่ายประสานงาน

อ.กภ.ทัศวิญา พัดเกาะ
คณะสหเวชศาสตร์
มหาวิทยาลัยบูรพา
169 ถ.ลงหาดบางแสน ต.แสนสุข
อ.เมือง จ.ชลบุรี 20131

โทร. 064-746-7547
E-mail: tadsawiya@go.buu.ac.th

ผู้เยี่ยมชม

819324
Today
This Month
All days
553
20455
819324